เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้
มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิตของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะ
เหล่านั้นเถิด อธิบายว่า แม้พระองค์ผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี
ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มกระจ่าง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
(โปรดตรัสบอก) การดำเนินชีวิต คือ จริยา ความประพฤติ ความประพฤติเอื้อเฟื้อ
อาจาระ โคจร วิหารธรรม1 ปฏิปทาของท่านผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่า
นั้นเถิด
คำว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ได้แก่ ทูลถามแล้ว คือ ทูลปุจฉา ทูลขอ
ทูลอัญเชิญ ทูลให้ประกาศ
คำว่า โปรดตรัสบอก ได้แก่ โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ
ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอ
พระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิตของพระอรหันตขีณาสพ และ
พระเสขะเหล่านั้นเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงทูลถามว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้นเถิด
[8] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย
พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง
มีสติดำรงอยู่ (8)

เชิงอรรถ :
1 วิหารธรรม ในที่นี้หมายถึงความเป็นไปแห่งอิริยาบถ (ขุ.จู.อ. 7/8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :65 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยกาม 2
คำว่า ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2)
กิเลสกาม
วัตถุกาม คืออะไร
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม
ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน
นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ1 คลังหลวง2 และวัตถุที่น่ายินดีอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง (เหล่านี้) ชื่อว่าวัตถุกาม
อีกนัยหนึ่ง กามที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน
ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก กามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่าง
ประณีต กามที่เป็นของสัตว์ในอบาย ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นของทิพย์ กามที่
ปรากฏเฉพาะหน้า ที่เนรมิตขึ้นเอง ที่ไม่ได้เนรมิตขึ้นเอง ที่ผู้อื่นเนรมิตให้ กามที่
มีผู้ครอบครอง ที่ไม่มีผู้ครอบครอง ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งปวง กามที่เป็น
เหตุเกิดแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่า
น่าปรารถนา น่ายินดี น่าลุ่มหลง น่ารื่นรมย์ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม
กิเลสกาม คืออะไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความดำริ
ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่ากาม ได้แก่ ความพอใจ
ด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วย

เชิงอรรถ :
1 กองพลรบ มี 4 เหล่า คือ (1) กองพลช้าง (2) กองพลม้า (3) กองพลรถ (4) กองพลทหารราบ
(ขุ.ม.อ. 1/14)
2 คลังหลวง มี 3 อย่าง คือ (1) คลังทรัพย์สิน (2) คลังพืชพันธุ์ธัญญาหาร (3) คลังผ้า
(ขุ.ม.อ. 1/14)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :66 }